ปฏิทินของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์




อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
"อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์"อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศไทย มีสภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสายและเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ มี
เนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาสูงที่สุด
ในประเทศไทย สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมา คือดอยหัวหมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ดอยอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำ แม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พ
ลังงานไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงถึง 2,565 เมตรอากาศจึงหนาวเย็นตลอดปีความชื้นสูงมากโดยเฉพาะบนดอย แม้นำฟืนมาก่อไฟก็จะติดไฟได้ยาก ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะลดต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสทุกปี ในฤดูร้อนแม้ว่าอากาศในตัวเมืองเชียงใหม่หรืออำเภอใกล้เคียงจะร้อน แต่บนยอดดอยอินทนนท์ยังมีอากาศหนาวเย็นอยู่จะต้องสวมเสื้อกันหนาว ฉะนั้นผู้ที่จะไปเที่ยวดอยอินทนนท์ควรจัดเตรียมเสื้อหนา ๆ ติดตัวไปด้วย


พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีหลายชนิด คือ ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจดังนี้ คือ สัก ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ แดง ประดู่ รกฟ้า มะค่า เก็ดแดง จำปีป่า ตะแบก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าที่สวยงามหลายชนิด เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่า สำหรับมอส ข้าวตอกฤาษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง
สัตว์ป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติที่นี้มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกแผ้วถางลงมาก ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลืออยู่บ้าง ได้แก่ เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า


ป่าเต็งรัง พบกระจายทั่วๆไปในพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-750 เมตร ตามเนินเขาหรือสันเขาที่แห้งแล้ง หรือตามด้านลาดทิศตะวันตกและทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ ชนิดไม้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง พลวง ก่อแพะ รกฟ้า รักใหญ่ ยอป่า มะขามป้อม ฯลฯ พืชอิงอาศัยพวกเอื้องแซะ เอื้องมะขาม เอื้องแปรงสีฟัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีพวกมอส ไลเคน นมตำเลีย เกล็ดนาคราช ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างจะเป็นไม้พุ่ม หญ้าชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญ้าคา ไม้เถา และพืชล้มลุกชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในชั้นระดับความสูง 400-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามที่ลุ่มหรือตามแนวสองฝั่งของลำห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก ตะแบก ประดู่ แดง มะเกิ้ม สมอไทย กาสามปีก สลีนก กระบก ซ้อ นอกจากนี้ยังมีไผ่ชนิดต่างๆ พืชอิงอาศัย เช่น เอื้องช้างกระ เอื้องขี้หมา ส่วนพืชพื้นล่างส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้พุ่ม หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าชนิดอื่นๆ ไม้เถา และพืชล้มลุกชนิดต่างๆ
ป่าดิบแล้ง พบกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในระดับความสูง 400-1,000 เมตร ตามบริเวณหุบเขา ริมลำห้วย และสบห้วยต่างๆ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางปาย ยางแดง ยางนา ตะเคียนทอง ก่อเดือย ก่อหยุม ก่อลิ้ม ประดู่ส้ม มะไฟป่า ชมพู่น้ำ ไทรย้อย เดื่อหูกวาง พืชพื้นล่างเป็นพืชที่ชอบขึ้นในที่มีความชื้นสูง เช่น กล้วยป่า หญ้าสองปล้อง เหมือดปลาซิว ตองสาด กระชายป่า ข่าลิง ผักเป็ดไทย ออสมันด้า กูด เฟิน ปาล์ม หวายไส้ไก่ หมากป่า และเขือง เป็นต้น
สัตว์ป่า ในบริเวณอุทยานแห่งชาติที่นี้มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกถางลงมาก ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ สัตว์ที่เหลืออยู่ส่วนมากเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระรอก กระแตธรรมดา กระเล็นขนปลายหูสั้น อ้นเล็ก เม่นหางพวง อีเห็นข้างลาย ชะมดแผงสันหางดำ นกแซงแซวเล็กเหลือบ นกปรอดหัวสีเขม่า นกเด้าดินทุ่ง เหยี่ยว เพเรกริน ไก่ฟ้าหลังขาว นกเงือกคอแดง นกพญาไฟสีกุหลาบ กิ้งก่าหัวสีฟ้า จิ้งเหลนเรียวจุดดำ ตุ๊กแกบ้าน งูลายสอคอแดง กบห้วยสีข้างดำ เขียดหนอง อึ่งกราย คางคกเล็ก ปาดแคระฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ยังคงความสำคัญในด้านของการเป็นแหล่งของนกป่าที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นแหล่งของสัตว์ป่าที่หายาก และมีอยู่เฉพาะถิ่นอยู่หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ หนูหญ้าดอย กระท่าง เต่าปูลู นกศิวะหางสีน้ำตาล นกปีกสั้นสีนำเงิน นกกระจิ๊ดคอสีเทา และนกกินปลีหางยาว

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทยประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่18 กันยายน 2505 ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรักหรือบริเวณขอบทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช มีเนื้อที่ประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,396 ไร่ ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกันถึง 11 อำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี นครนายก นครราชสีมา และสระบุรี ได้รับสมญานามว่าเป็น “ อุทยานมรดกของอาเซียน” เป็นผืนป่าใหญ่ต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม


ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ได้แก่ เขาร่ม เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,076 เมตร ประกอบด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ สภาพพื้นที่ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกจพลาดลงส่วนทางทิศใต้และทิศตะวันออกเป็นที่สูงชันขึ้นไปเรื่อยๆและเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำนครนายก แม่น้ำลำตะคอง แม่น้ำลำพระเพลิง และห้วยมวกเหล็ก
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีอากาศเย็นตลอดทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อนจึงมีอากาศที่เย็นสบาย ฤดูฝนเป็นช่วงที่สภาพธรรรมชาติบนเขาใหญ่ป่าไม้และทุ่งหญ้าจะเขียวขจีสวยงาม บรรดาน้ำตกต่างๆ จะมีสายน้ำที่ไหลหลากและเชี่ยวกราก ส่วนในฤดูหนาวช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์อากาศค่อนข้างเย็น โดย เฉพาะบริเวณเขาสูง



พืชพรรณไม้และสัตว์ป่า
ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศอันเหมาะสมส่งผลให้อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นต้นกำเนิดของผืนป่าใหญ่อันอุดมสมบูรณ์ เป็นศูนย์รวมของป่าหลากหลายชนิด ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณและทุ่งหญ้า มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่มากกว่า 2,000 ชนิด มีทั้งพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้หายาก
ป่าที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดที่พบเห็นได้ง่าย เช่น เสือโคร่ง หมี กระทิง เลียงผา เม่น ชะนี พญากระรอก หมาใน ชะมด หมี กระทิง เลียงผา ฯลฯ เขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติที่นักท่องเที่ยวสามารถพบเห็นสัตว์ป่าที่หากินอยู่ในธรรมชาติอย่างใกล้ชิด เช่น โขลงช้างป่าหรือฝูงกวาง เขาใหญ่เป็นแหล่งศึกษาดูนกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เช่น นกเงือก นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแซงแซว นกโพระดก ไก่ฟ้า ฯลฯ โดยเฉพาะนกเงือกพบว่าอาศัยอยู่ในเขาใหญ่ถึง 4 ชนิด ได้แก่ นกกก นกเงือกกรามช้าง นกเงือกสีน้ำตาล และนกแก๊ก



จุดเด่นที่สนใจ
น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ที่สูงและสวย แต่ที่อันตรายที่สุด มีทั้งหมด 3 ชั้น ในฤดูฝนน้ำตกเหวนรกมีสายน้ำไหลเชี่ยวน่ากลัวสมชื่อ น้ำตกแห่งนี้ถือเป็นสุสานช้างป่าหลายเชือกที่พลัดตกลงไป ตั้งอยู่บริเวณเส้นทางเขาใหญ่ – ปราจีนบุรี
น้ำตกเหวสุวัต เหวไทร เหวประทุน เป็นน้ำตกกลุ่มเดียวกันที่เกิดการห้วยลำตะคอง ตั้งอยู่สุดถนนธนะรัชถ์รถเข้าถึงได้ ในฤดูฝนจะมีน้ำมากและไหลแรง น้ำค่อนข้างเย็นจัด
น้ำตกผากล้วยไม้ เป็นน้ำตกขนาดกลาง ที่เกิดจากห้วยลำตะคองเช่นกัน มีความสูงประมาณ 10 เมตร น้ำตกผากล้วยไม้จะมีกล้วยไม้หวายแดงขึ้นอยู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของน้ำตกแห่งนี้ จากน้ำตกผากล้วยไม้สามารถเดินเท้าต่อไปยังน้ำตกเหวสุวัตได้
น้ำตกกองแก้ว เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากห้วยลำตะคอง ในฤดูฝนสวยงามมาก เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯเพียง 100 เมตร
น้ำตกนางรอง น้ำตกสาริกา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครนายก มีชื่อเสียงมาช้านาน การเดินทางจากจังหวัดนครนายกเข้าไปประมาณ 20 กิโลเมตร
นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ยังมีน้ำตกอีกหลายแห่งที่มีความาสวยงามในเส้นทารงเดินป่าต่างๆ เช่น น้ำตกวังเหว น้ำตกตาดตาภู่ น้ำตกเหวอีอ่ำ น้ำตกตระคร้อ น้ำตกส้มป่อย น้ำตกธารทิพย์ น้ำตกแก่งกฤษณา และกลุ่มน้ำตกผาตะแบก ฯลฯ

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง





อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ที่อำเภอภูกระดึงในจังหวัดเลย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย ในแต่ละปีมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน. ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2486 และเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่สองถัดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร



ภูกระดึงมีธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวประทับใจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ความสวยงามของการชมทิวทัศน์มาจากที่ราบสูง เช่น การชมพระอาทิตย์อัสดงที่ผาหล่มสัก, การสำรวจพรรณไม้นานาชนิด เช่น ไฟเดือนห้าที่แดงสด และดงป่าสนอันกว้างใหญ่, หรือธรรมชาติชนิดอื่น ๆ เช่น การชมน้ำตกที่น้ำตกขุนพอง เป็นต้น. ในช่วงวันหยุดยาว มักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงราวหนึ่งหมื่นคน โดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มจะสามารถแบ่งการเที่ยวตามเวลาที่มีได้เช่น หากมี 4 วันที่ภูกระดึง คือเดินทางขึ้น 1 วัน ท่องน้ำตก 1 วัน เลียบผา 1 วัน ลง 1 วัน หากมี 3 วันก็เดินทางขึ้น 1 วัน เที่ยว 1 วัน ลง 1 วัน โดยเลือกท่องเที่ยวได้ หากมีสุขภาพที่ดีพอก็สามารถเดินเที่ยวเส้นน้ำตกพร้อมกับเส้นหน้าผาได้ภายในวันเดียว แต่จะไม่เหมาะกับผู้มีสุขภาพไม่ดีนัก